top of page

กรณีศึกษา amazon เป็นผู้นำในธุรกิจค้าปลีกได้อย่างไร amazon: the Best Practice in Retail Industry

หลายๆ ท่านคงพอรู้จัก Amazon ที่ทำ e-commerce กันบ้าง ที่ในอดีตจำหน่ายหนังสือผ่านระบบออนไลน์ (ในเคสนี้ไม่ได้พูดถึงร้านกาแฟ Amazon ในปั้มน้ำมัน ปตท. นะครับ) ในโลกธุรกิจในอดีตมักจะยกตัวอย่างของ Wal-mart <Wal-mart เป็นบริษัทค้าปลีก เหมือนบิ้กซี หรือโลตัส ในบ้านเรา ทำทั้ง hypermarkets ห้างจำหน่ายสินค้าแบบให้ส่วนลด (discount) และสินค้าแบบร้านโชว์ห่วย มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ Bentonville, Arkansas ก่อตั้งโดย Sam Walton ในปี 1962> แต่ตอนนี้ทุกคนกำลังจับตา amazon ที่เติบโตจากร้าน e-book Online จนกลายเป็นเบอร์ 1 ในอุตสาหกรรมค้าปลีก และผู้ก่อตั้ง Jeff Bezos กลายเป็นนักธุรกิจที่มีความมั่งคั่งติดอันดับ Top 5 ของโลก

amazon มีอะไรที่น่าสนใจบ้าง เริ่มพัฒนาธุรกิจใหม่จากระบบ Online สู่ระบบ Offline ที่เรียกว่า Online to Offline (O2O) โดยต้นปี 2560 ได้เปิดสาขา amazon go ที่ Seattle, Washington สหรัฐอเมริกา

“เพียงเปิด App Amazon go ในมือถือ เดินเข้าร้าน ยิง QR Code หยิบสินค้า เดินออกจากร้าน”

** ระบบจะนำข้อมูลสินค้าเข้าตะกร้าเสมือน (Visual cart) ถ้าเปลี่ยนใจไม่เอาสินค้าใด ระบบจะอัพเดทตัดสินค้าออกไปทันทีด้วยระบบหลังบ้าน ทั้ง Computer Vision, Deep Learning Algorithms, AI, Sensor fusion แบบเดียวกับที่ใช้ในรถยนต์อัตโนมัติ พร้อมตัดบัตรเครดิตอัตโนมัติ amazon เรียก เทคโนโลยีนี้ว่า Just Walk Out Technology เดินออกจากร้านพร้อม รายงานตัดยอดเงินบนมือถือ ไม่มีการต่อแถว ไม่ต้องยืนรอชำระเงิน (No lines, no check out)

ลองไปดูระบบสนับสนุนหลังบ้าน amazon fulfillment center ตั้งแต่ คลังสินค้าและกระจายสินค้า และระบบโลจิสติกส์ กันบ้าง ด้วยคลังสินค้าขนาดมากกว่า 1.1 ล้านตารางฟุต ในปี 2015 amazon ส่งสินค้าไปมากกว่า 51 ล้านชิ้น มีสินค้าที่ถูกขาย 629 ชิ้นในทุกๆ วินาที ใช้หุ่นยนต์ Kiva ในการขนสินค้าตามคำสั่งซื้อ ในรูปแบบเดิมๆ พนักงานจะเดินเข้าไปหยิบสินค้า

แต่เจ้าหุ่นยนต์ Kiva เหล่านี้ จะทำหน้าที่กลับกัน คือ มันจะไปหาสินค้าแทน โดยวางเส้นทางวิ่งด้วย QR Code ที่เสมือนเส้นกริดที่พื้น สามารถระบุตำแหน่ง และวิ่งมาหาพนักงานหยิบสินค้า เพื่อนำสินค้าไปจัดลงในบรรจุภัณฑ์ ด้วยพนักงานมากกว่า 2,500 คน ทำให้ลดเวลาในการทำงานไปอย่างมาก จากนั้นกล่องสินค้าจะถูกแยกไปตามพื้นที่ ประเทศ จังหวัด เมือง ตามรหัสไปรษณีย์ และเตรียมส่งมอบต่อไป

amazon fresh เกิดจากที่ amazon ไป take over ธุรกิจ <Whole foods ซึ่งเป็นการเจรจาธุรกิจที่แพงที่สุดของ amazon ด้วยมูลค่ากว่า 13,700 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้หุ้นของ amazon เพิ่มขึ้น 3.4% และ Whole food เพิ่มขึ้น 26.8% ทำคล้ายธุรกิจ “ดอยคำ” ของไทย มีสาขาหลายร้อยสาขา เน้นการจำหน่ายสินค้าสินค้าเกษตรสดๆ เกษตรอินทรีย์ และเกษตรแปรรูป> มาเพื่อพัฒนาธุรกิจส่งสินค้าเกษตรอินทรีย์ เกษตรแปรรูป และของสดใหม่ ลองไปดูกันเลยว่า amazon fresh pickup เป็นอย่างไร

amazon Key เป็นอีกหนี่งกรณีศึกษาที่น่าสนใจ สามารถสั่งการเปิด-ปิดประตู และให้พนักงานเข้ามาทำธุระ เช่น งานบ้าน ทำความสะอาด ปัดกวาดเช็ดถูในบ้าน หรือแม้แต่นำสินค้ามาส่งที่บ้านก็ได้ยังได้

พนักงานบริษัทมักจะประสบปัญหาไม่มีเวลาทำธุระ หรือยุ่งจนลืมนัดหมายต่างๆ amazon key จึงเข้ามาเป็นผู้ช่วยในการทำงานบ้าง รวมไปถึงการนำสินค้ามาส่งให้ถึงห้องนอน

ล้ำหน้าด้วยการเป็นรายแรกของโลกที่นำส่งสินค้าด้วยโดรน การสั่งสินค้าผ่าน Amazon Prime Air เมื่อกดสั่งสินค้าผ่านระบบ คลังสินค้าจะจัดสินค้าส่งขึ้นโดรน และบินมาส่งที่หน้าบ้าน และแนวคิดล่าสุดที่ Amazon ให้โดรนมาส่งสินค้าด้วยการจดจำใบหน้าแล้วให้โดรนตามส่งสินค้าได้ทั่วโลก !!!

และยิ่งไปกว่านั้นยังก้าวข้ามไปในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมสารสนเทศ จนไปถึงการผลักดันธุรกิจเริ่มต้นใหม่ ด้วยการเปิดแบบจำลองธุรกิจ amazon launchpad ที่ช่วยผลักดันธุรกิจ Startup ที่มีไอเดียมาขายบนระบบนี้ได้เลย

ลองไปดูในการเงินกันบ้าง amazon ขาดทุนตั้งแต่ปี 2000 จนในปี 2003 เริ่มทำกำไร และรายได้ ในปี 2016 มีรายได้ 135,987 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และกำไร 2,371 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 5.01 ดอลลาร์ (ข้อมูลจากรายงานประจำปี 2016)

สามารถติดตามบทความดีๆ แบบนี้ได้ที่ www.facebook.com/LEANxACADEMY

RECENT POSTS

FEATURED POSTS

FOLLOW US

  • Grey Facebook Icon
  • Grey Twitter Icon
  • Grey Instagram Icon
  • Grey Google+ Icon
  • Grey Pinterest Icon
bottom of page